วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

บทคัดย่อ

โครงงานชีววิทยา เรื่อง ขมิ้นชัน สมุนไพรรักษาโรคเป็นโครงงานประเภทการทดลอง ทำสมุนไพรพื้นบ้านด้วยตนเองซึ้งเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในสมัยก่อน ที่นำยาสมุนไพรมากมาย มารักษาโรค
อย่างที่ทราบกันว่าขมิ้นชันมีวิตามิน เอ, ซี, อี ที่เข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำงานพร้อมกันทั้ง 3 ตัว จึงมีผลทำให้ช่วยลดไขมันในตับ สมานแผลภายในกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ทำความสะอาดลำไส้ เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ ต้านอนุมูลอิสระป้องกันมะเร็งตับ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับผิวหนัง กำจัดเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารที่รับประทานเข้าไปและสะสมในร่างกายเตรียมก่อตัวเป็นเซลล์มะเร็ง จึงได้จัดทำการทดลองขึ้นโดยนำขมิ้นชันมาตำเป็นผงผสมกับ เปลือกกล้วยน้ำว้าที่ตากแห้งแล้วนำมาบดให้ละเอียด
ดีปลีสุก และข้าวเหนียวดำคั้วแล้วนำมาบดเช่นกัน สรรพคุณ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เลือดลมเดินสะดวก






ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ทันสมัยมาก คนส่วนใหญ่จึงนิยมการแพทย์สมัยใหม่ แต่สมัยก่อนยังไม่มีการแพทย์สมัยใหม่ คนสมัยก่อนจึงนำสมุนไพรที่หาได้ตามป่า มาเป็นยารักษาโรคต่าง ๆ ขมิ้นชันก็เป็นยาสมุนไพร ซึ่งมีสรรพคุณมากมาย.. จึงเป็นที่มาของการนำขมิ้นชันสมุนไพรพื้นบ้าน มาทำการทดลอง เพราะเป็นพืชท้องถิ่นที่หาได้ง่ายจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น


ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
กลุ่มข้าพเจ้าใช้เวลาทำการทดลองเป็นเวลา 1 สัปดาห์ โดยทำโครงงานที่บ้านของธิติวุฒิ โดยการศึกษาค้นคว้าจากหนังสือและอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ทราบคุณสมบัติของขมิ้นชัน และส่วนผสมต่าง ๆ ที่เตรียมไว้ และคิดถึงความเป็นไปได้ในการทดลองผลิต เมื่อตกลงกันได้ว่า ใครจะนำวัตถุดิบอะไรมา เมื่อช่วยกันเตรียมอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว จึงนัดหมายกันมาทำการทดลอง


สมมุติฐาน
จากการทดลองนำขมิ้นชันมาทำสมุนไพรตามขั้นตอนที่ถูกต้อง จะได้สรรพคุณ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ เลือดลมเดินสะดวก



อุปกรณ์และวิธีการทดลอง
วัสดุและอุปกรณ์

1.ขมิ้นชัน
2.ดีปลี
3.เปลือกกล้วย
4.ข้าวเหนียวดำ
5.ครก
6.สาก
7.แคปซูล

วิธีการทดลอง

1.นำขมิ้นชันมาตำ แล้วบดให้ละเอียด
2.นำดีปลีมาตำ และบดให้ละเอียดเช่นกัน
3.นำเปลือกกล้วยมา ตากแดด แล้วนำมาตำแล้วบดให้ละเอียด
4.นำ ข้าวเหนียวดำ มาคั่ว แล้วตำ ให้ละเอียด
5.นำ ส่วนผสมทั้งหมดมาผสมกัน แล้วบดให้เป็นเนื้อเดียวกัน
6.บรรจุลงในแคปซูล


ผลการทดลอง
จากการทดลองทำสมุนไพรจากขมิ้นชันปรากฎว่าได้ผลิตภัณฑ์ คือ แคปซูล ซึ่งภายในบรรจุด้วยส่วนผสมของ ขมิ้นชัน เปลือกกล้วยน้ำว้า ดีปลี และข้าวเหนียวดำ เนื่องจาก ไม่มีประสบการณ์ ทางด้านนี้จึงทำให้ ไม่มีใครกล้า พิสูจน์ แต่คาดว่าผลออกมาค่อนข้างดี เพราะ การตำและการบดให้เข้ากัน ทำด้วยความประณีต นุ่มนวล ทำให้ ได้ ผงที่ละเอียด และ บรรจุลงในแคปซูลได้


สรุปผลการทดลอง
จากการ เริ่มทำโครงงานนี้ กลุ่มของข้าพเจ้า ได้ความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพร ต่าง ๆ มากมาย และยังได้ประสบการณ์เกี่ยวกับการทำสมุนไพรอีกด้วย ซึ่งจากการทดลองได้สมุนไพรจากขมิ้นชันที่สามารถขับลมแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ ได้


ประโยชน์ที่ได้จากการทดลอง
1. ได้ทำงานกันเป็นกลุ่ม
2. ได้ทราบถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนในสมัยก่อนและนำมาศึกษาเพื่อใช้ประโยชน์สืบต่อไป
3. ได้เรียนรู้วิธีแก้ปัญหา
4. ได้เรียนรู้การทำโครงงาน ซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษาระดับต่อไป
5. เกิดความภาคภูมิใจในผลงานที่จัดทำ
6. ได้เผยแพร่ผลงานซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น

วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

มอเนอรา




มอเนอรา (Monera) เป็นอาณาจักรทางชีววิทยา ประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตจำพวกที่นิวเคลียสไม่มีผนังห่อหุ้ม (prokaryotic nucleus) และไม่มีแวคิวโอล มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น พบอยู่ทุกหนทุกแห่งในอากาศ ในน้ำ ในดิน อาจเป็นเซลล์เดียวหรือต่อกันเป็นสาย ภายในเซลล์ไม่แสดงขอบเขตของนิวเคลียสชัดเจน มีรูปร่างหลายแบบทั้งกลม แท่ง และเกลียว และยังสามารถอาศัยอยู่บนหรือในพืชและสัตว์ สมาชิกในอาณาจักรนี้ได้แก่สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินและแบคทีเรีย ปัจจุบันอาณาจักรมอเนอราได้แบ่งออกเป็นสองอาณาจักร คืออาณาจักรอาร์เคีย และแบคทีเรีย

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera)
สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในอาณาจักรมอเนอราคือ สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์แบบโพรคาริโอต(Procaryotic)คือ ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสสารพันธุกรรม ไม่มีออร์แกเนล ที่มีเมมเบรนหุ้ม
ไฟลัมชิโซไฟตา (Phylum Schizophyta)

ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าแบคทีเรีย (Bacteria) มีลักษณะสำคัญดังนี้
1. ขนาดแบคทีเรียมีขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลางประมาณ 1-5 ไมโครเมตร
2. รูปร่างของแบคที่เรียมี 3 ลักษณะคือ
2.1 พวกรูปร่างกลมเรียกว่า คอกคัส(Coccus) ซึ่งอาจเป็นทรงรูปไข่ กลมแบน หรือยาวรี เมื่อแบ่งตัวเซลล์ที่ได้ใหม่ยังคงติดกับเซลล์เก่า
2.2 พวกรูปร่างแท่งรียาวเรียกว่า บาซิลัส (Bacillus) บางชนิดอาจมีรูปร่างเป็นแท่งสั้นๆปลายมนเรียกว่า พวกคอกโคบาซิลัส (Coccobacillus) เช่น เชื้อโครแอนแท็รกซ์(Bacillus anthrasis)
2.3 รูปร่างเกลียวเรียกว่า สไปริลลัม(Spirillum) เช่นเชื้อโรคซิฟิลิส(Treponima palidum)
3. ผนังเซลล์(Cell wall) ของแบคทีเรียเป็นสารที่เรียกว่า เพปทิโดไกลแคน (Peptidoglycan) ซึ่งมีลักษณะเหมือนตาข่าย โดยการเกาะ กันของพอลิแซคาไรด์ที่เรียกว่า เอ็นแอซิติลกลูโคซามีน(N-acetyglucosamine) และเอ็นแอซิติมูรามิกแอซิด (N-acetylmuramic acid) ซึ่งเป็นส่วน ของคาร์โบไฮเดรตกับกรดอะมิโน จึงเรียกว่า เพปทิโดไกลแคน
4. เยื่อเซลล์(Cell membrane) เป็นสารพวก ฟอสฟอลิพิด(Phospholipid) และโปรตีนทำหน้าที่ในการคัดเลือกสารเข้าออกเซลล์
5. ไรโบโซม(Ribosome) แบคทีเรียมีไรโบโซมซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างโปรตีนเป็นชนิด 70s ไรโบโซมซึ่งมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบประมาณ 40% และRNA ประมาณ60%
6. แฟลเจลลา(Flagella) เป็นส่วนที่ยื่นออกจากเซลล์ที่ลักษณะคล้ายขนสั้นบ้างยาวบ้าง ทำหน้าที่โบกพัดทำให้เกิดการเคลื่อนที่ อาจมี 1เส้น 2 เส้นหรือหลายเส้นก็ได้ โดยทั่วไปทิศทางการเคลื่อนที่ของแบคทีเรียจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียว
7. พิไล(Pill) มีลักษณะคล้ายแฟลเจลลาแต่สั้นและบางกว่า พิไลประกอบด้วยโปรตีนพิลิน(Pilin) เรียงตัวต่อกันเป็นท่อทำหน้าที่เป็นทางผ่าน ของสารพันธุกรรม ขณะที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
8. สารพันธุกรรม (Genetic material) แบคทีเรียมีสารพันธุกรรมเป็น DNA สายคู่ที่ไม่มีโปรตีนฮิสโทนเกาะและมีลักษณะเป็นรูปวงแหวน (Circular DNA) เป็น DNA เปลือย(Naked DNA)
9. แคปซูล(Capsule) เป็นส่วนที่อยู่นอกเซลล์เป็นสารประกอบพวกพอลิแซคาไรด์และพอลิเพปไทด์ แคปซูลทำให้เกิดโรคได้หลายชนิด เช่น โรคปอดบวม โรคแอนแท็รกซ์ นอกจากนี้ยังช่วยให้ แบคทีเรียท่อต่อสภาพแวดล้อมและการทำลายเม็ดเลือดขสวได้ดีขึ้น
10. สปอร์(Spore) ของแบคทีเรียเรียกว่า เอนโดสปอร์(Endospore) จะสร้างเมื่อสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น ขาดแคลนอาหาร สปอร์ของแบคทีเรียจะทนทานต่อสภาพต่างๆได้ดี แบคทีเรียจะสร้างสปอร์ได้เพียง 1 สปอร์เท่านั้น จึงไม่ถือว่าเป็นการสืบพันธุ์ของแบคทีเรียแต่ถือว่า เป็นการดำรงชีพมากกว่า



ไฟลัมไซยาโนไฟตา (Phylum cyanophyta)


ได้แก่สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue-green algae) พบได้ทั้งในน้ำจือและน้ำเค็ม ที่ชื้นโดยการเกาะอยู่กับวัตถุหรือก้อน หินที่อยู่ในน้ำสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินมี ลักษณะสำคัญดังนี้
1. เซลล์เป็นแบบโพรคาริโอต ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส
2. ภายในเซลล์ไม่มีเม็ดคลอโรพลาสต์ มีแต่คลอโรฟิลล์ เอ แคโรทีน (Carotine) แซนโทฟิลล์(Xanthophyll) ไฟโคอิริทริน(Phycoerythirin) ซึ่งเป็น สารสีแดง ไฟโคไซยานิน (Phycocyanin) ซึ่งเป็นสารสีน้ำเงินจึงทำให้สาหร่ายชนิดนี้เป็นสีเขียวปนน้ำเงิน
3. ผนังเซลล์เป็นสารพวกเพปทิโดไกลแคน คือ มีพอลิแซคาไรด์เกาะอยู่กับเพปไทด์ ผนังเซลล์มักถูหุ้มด้วยเมือก ซึ่งมีลักษณะคล้ายวุ้นทำให้ลื่น
4. อาหารสะสมเป็นสารพวกคาร์โบไฮเดรต คือ ไกลโคเจน (Glycogen) และมีชื่อเฉพาะว่า ไซยาโนไฟเซียน สตาร์ช(Cyanophysean starch)
5. ไม่มีแฟลเจลลา จึงเคลื่อนที่ด้วยตัวเองไม่ได้
6. การสืบพันธุ์มีเฉพาะการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเท่านั้น ได้แก่ การแบ่งตัว การหักหรือขาด
7. สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินมีหลายชนิด เช่น
-พวกที่เป็นเซลล์เดี่ยวหรือกลุ่ม เช่น ครูโอคอคคัส(Chroococcus) แอนาซีสทีส(Anacystis)
-ที่เป็นสาย เช่น ออสซิลลาทอเรีย (Oscillatoria) นอสตอก(Nostoc) แอนาบีนา (Anabaena) สไปรูไลนา(Spirulina)