วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2552

อาณาจักรมอเนอรา

อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera)
สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในอาณาจักรมอเนอราคือ สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์แบบโพรคาริโอต(Procaryotic)คือ ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสสารพันธุกรรม ไม่มีออร์แกเนล ที่มีเมมเบรนหุ้ม
ไฟลัมชิโซไฟตา (Phylum Schizophyta)

ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าแบคทีเรีย (Bacteria) มีลักษณะสำคัญดังนี้
1. ขนาดแบคทีเรียมีขนาดเส้นผ่าน ศูนย์กลางประมาณ 1-5 ไมโครเมตร
2. รูปร่างของแบคที่เรียมี 3 ลักษณะคือ
2.1 พวกรูปร่างกลมเรียกว่า คอกคัส(Coccus) ซึ่งอาจเป็นทรงรูปไข่ กลมแบน หรือยาวรี เมื่อแบ่งตัวเซลล์ที่ได้ใหม่ยังคงติดกับเซลล์เก่า
2.2 พวกรูปร่างแท่งรียาวเรียกว่า บาซิลัส (Bacillus) บางชนิดอาจมีรูปร่างเป็นแท่งสั้นๆปลายมนเรียกว่า พวกคอกโคบาซิลัส (Coccobacillus) เช่น เชื้อโครแอนแท็รกซ์(Bacillus anthrasis)
2.3 รูปร่างเกลียวเรียกว่า สไปริลลัม(Spirillum) เช่นเชื้อโรคซิฟิลิส(Treponima palidum)
3. ผนังเซลล์(Cell wall) ของแบคทีเรียเป็นสารที่เรียกว่า เพปทิโดไกลแคน (Peptidoglycan) ซึ่งมีลักษณะเหมือนตาข่าย โดยการเกาะ กันของพอลิแซคาไรด์ที่เรียกว่า เอ็นแอซิติลกลูโคซามีน(N-acetyglucosamine) และเอ็นแอซิติมูรามิกแอซิด (N-acetylmuramic acid) ซึ่งเป็นส่วน ของคาร์โบไฮเดรตกับกรดอะมิโน จึงเรียกว่า เพปทิโดไกลแคน
4. เยื่อเซลล์(Cell membrane) เป็นสารพวก ฟอสฟอลิพิด(Phospholipid) และโปรตีนทำหน้าที่ในการคัดเลือกสารเข้าออกเซลล์
5. ไรโบโซม(Ribosome) แบคทีเรียมีไรโบโซมซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างโปรตีนเป็นชนิด 70s ไรโบโซมซึ่งมีโปรตีนเป็นองค์ประกอบประมาณ 40% และRNA ประมาณ60%
6. แฟลเจลลา(Flagella) เป็นส่วนที่ยื่นออกจากเซลล์ที่ลักษณะคล้ายขนสั้นบ้างยาวบ้าง ทำหน้าที่โบกพัดทำให้เกิดการเคลื่อนที่ อาจมี 1เส้น 2 เส้นหรือหลายเส้นก็ได้ โดยทั่วไปทิศทางการเคลื่อนที่ของแบคทีเรียจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียว
7. พิไล(Pill) มีลักษณะคล้ายแฟลเจลลาแต่สั้นและบางกว่า พิไลประกอบด้วยโปรตีนพิลิน(Pilin) เรียงตัวต่อกันเป็นท่อทำหน้าที่เป็นทางผ่าน ของสารพันธุกรรม ขณะที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ
8. สารพันธุกรรม (Genetic material) แบคทีเรียมีสารพันธุกรรมเป็น DNA สายคู่ที่ไม่มีโปรตีนฮิสโทนเกาะและมีลักษณะเป็นรูปวงแหวน (Circular DNA) เป็น DNA เปลือย(Naked DNA)
9. แคปซูล(Capsule) เป็นส่วนที่อยู่นอกเซลล์เป็นสารประกอบพวกพอลิแซคาไรด์และพอลิเพปไทด์ แคปซูลทำให้เกิดโรคได้หลายชนิด เช่น โรคปอดบวม โรคแอนแท็รกซ์ นอกจากนี้ยังช่วยให้ แบคทีเรียท่อต่อสภาพแวดล้อมและการทำลายเม็ดเลือดขสวได้ดีขึ้น
10. สปอร์(Spore) ของแบคทีเรียเรียกว่า เอนโดสปอร์(Endospore) จะสร้างเมื่อสภาวะแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น ขาดแคลนอาหาร สปอร์ของแบคทีเรียจะทนทานต่อสภาพต่างๆได้ดี แบคทีเรียจะสร้างสปอร์ได้เพียง 1 สปอร์เท่านั้น จึงไม่ถือว่าเป็นการสืบพันธุ์ของแบคทีเรียแต่ถือว่า เป็นการดำรงชีพมากกว่า



ไฟลัมไซยาโนไฟตา (Phylum cyanophyta)


ได้แก่สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue-green algae) พบได้ทั้งในน้ำจือและน้ำเค็ม ที่ชื้นโดยการเกาะอยู่กับวัตถุหรือก้อน หินที่อยู่ในน้ำสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินมี ลักษณะสำคัญดังนี้
1. เซลล์เป็นแบบโพรคาริโอต ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส
2. ภายในเซลล์ไม่มีเม็ดคลอโรพลาสต์ มีแต่คลอโรฟิลล์ เอ แคโรทีน (Carotine) แซนโทฟิลล์(Xanthophyll) ไฟโคอิริทริน(Phycoerythirin) ซึ่งเป็น สารสีแดง ไฟโคไซยานิน (Phycocyanin) ซึ่งเป็นสารสีน้ำเงินจึงทำให้สาหร่ายชนิดนี้เป็นสีเขียวปนน้ำเงิน
3. ผนังเซลล์เป็นสารพวกเพปทิโดไกลแคน คือ มีพอลิแซคาไรด์เกาะอยู่กับเพปไทด์ ผนังเซลล์มักถูหุ้มด้วยเมือก ซึ่งมีลักษณะคล้ายวุ้นทำให้ลื่น
4. อาหารสะสมเป็นสารพวกคาร์โบไฮเดรต คือ ไกลโคเจน (Glycogen) และมีชื่อเฉพาะว่า ไซยาโนไฟเซียน สตาร์ช(Cyanophysean starch)
5. ไม่มีแฟลเจลลา จึงเคลื่อนที่ด้วยตัวเองไม่ได้
6. การสืบพันธุ์มีเฉพาะการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเท่านั้น ได้แก่ การแบ่งตัว การหักหรือขาด
7. สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินมีหลายชนิด เช่น
-พวกที่เป็นเซลล์เดี่ยวหรือกลุ่ม เช่น ครูโอคอคคัส(Chroococcus) แอนาซีสทีส(Anacystis)
-ที่เป็นสาย เช่น ออสซิลลาทอเรีย (Oscillatoria) นอสตอก(Nostoc) แอนาบีนา (Anabaena) สไปรูไลนา(Spirulina)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น